เข้ามาสู้ศึกอีคอมเมิร์ซไทยตั้งแต่ปี 2016 จนในปี 2019 ‘Shopee’ (ช้อปปี้) ได้กลายเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งตลาดถึง 54% (อ้างอิงจากไพร์ซซ่า) อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ ‘อีโคซิสเต็มส์’ ที่สมบูรณ์ และในที่สุด Shopee ก็มี ‘คลังสินค้า’ (Shopee Warehouse) ที่เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่จะมาเติมเต็มในด้านโลจิสติกส์ ที่จะทำให้ Shopee มีอีโคซิสเต็มส์ที่สมบูรณ์
ที่ผ่านมา Shopee พยายามพูดถึงการสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่เอื้อต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งแค่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นไม่เพียงพอ แต่ ‘ระบบชำระเงิน’ (Payment) และ ‘การขนส่ง’ (Logistics) ต้องมีความพร้อม ซึ่ง Shopee เองก็มี AirPay ที่มาอุดช่องในด้านเพย์เมนต์ เหลือเพียงแต่เรื่อง ‘ขนส่ง’ ที่ยังต้องพึ่งพาร์ตเนอร์เพื่อจัดส่งสินค้า แต่ในที่สุด Shopee ก็คลอด ‘Shopee Warehouse’ คลังสินค้าแห่งแรกในไทย พร้อมกับมี ‘Shopee Xpress’ บริการการจัดส่งสินค้าของตัวเองอีกด้วย
สำหรับ Shopee Warehouse เริ่มใช้งานตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 โดยพื้นที่ของคลังสินค้ามีขนาดกว่า 30,000 ตารางเมตร มีพนักงานกว่า 300 คน พร้อมใช้ระบบ Warehouse Management System (WMS) ที่ช่วยให้ ecosystem ในการรับ แพ็ก และการจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันคลังสินค้าสามารถเตรียมจัดส่งสินค้าได้ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากมีคำสั่งซื้อ และกว่าครึ่งของสินค้าจะถูกจัดส่งโดย Shopee Xpress ส่งที่เหลือจะถูกจัดส่งโดยพันธมิตรโลจิสติกส์รายอื่น ๆ
โดยภายในคลังสินค้าได้มีการแบ่งพื้นที่เป็นโซนต่าง ๆ ทั้งโซนสินค้าแฟชั่น โซนสินค้าราคาแพง เป็นต้น สำหรับ 5 สินค้าที่ให้บริการในคลังสินค้ามากที่สุด ได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก (Mom&Kids) 2.สินค้าความงาม (Beauty) 3.ของตกแต่งบ้าน (Home&Living) 4.อาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverages) และ 5.สินค้าเพื่อสุขภาพ (Healthy&Wellness)
“ตั้งแต่มีคลังสินค้า มันทำให้อีโคซิสเต็มส์ของเราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยแบรนด์ธุรกิจและผู้ขายในทั่วทั้งภูมิภาคที่ได้ใช้บริการคลังสินค้าของช้อปปี้ สามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้นและจัดส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า เพราะเราช่วยให้ร้านค้าโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่ ไม่ต้องมากังวลเรื่องการจัดส่ง ส่วนคนซื้อก็สามารถติดตามสถานะสินค้าได้ และรับของได้รวดเร็วและแม่นยำ” อีริค บุย หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ช้อปปี้ ประเทศไทย กล่าว
แม้จะไม่สามารถเปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนได้ แต่ทาง Shopee ยืนยันว่าในปีนี้จะยังลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อ ‘สเกลอัพ’ คลังสินค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการรับมือกับช่วงแคมเปญ ‘ดับเบิลเดย์’ ที่จะมีคำสั่งซื้อมากกว่าช่วงเวลาปกติหลายเท่าตัว ซึ่งอย่างในช่วง COVID-19 ที่มียอดคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น คลังสินค้าเองสามารถจัดส่งสินค้าได้เพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าในช่วงเวลาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม Shopee ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีร้านค้าที่ใช้บริการคลังสินค้ามากน้อยแค่ไหน แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง และทาง Shopee เองก็แคมเปญกระตุ้นร้านค้าในครึ่งปีหลังอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ ซึ่งการเติบโตของร้านค้าและผู้ซื้อจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มจำนวนคลังสินค้าในภูมิภาคต่าง ๆ เพราะเเม้ปัจจุบันจะไม่มีเเผน เเต่การขยายก็ขึ้นอยู่กับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งปัจจุบัน Shopee มองว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะตั้งแต่เกิดวิกฤต COVID-19 ก็เห็นการเติบโตของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
Related
August 14, 2020 at 07:39PM
https://ift.tt/2PRFVML
บุก 'Shopee Warehouse' จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย สร้าง 'แต้มต่อ' ในสงครามอีคอมเมิร์ซ - Positioning Magazine
https://ift.tt/2AHTTMJ
Bagikan Berita Ini
0 Response to "บุก 'Shopee Warehouse' จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย สร้าง 'แต้มต่อ' ในสงครามอีคอมเมิร์ซ - Positioning Magazine"
Post a Comment